วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

พุทธวจน

เป็นที่ทราบกันดีจากข่าวคราวในวงการพุทธศาสนาของบ้านเรา ที่ทุกวันนี้นับวันมีแต่มุ่งไปในทางเสื่อม ความศรัทธาในศาสนาของพุทธศาสนิกชนก็ยิ่งถดถอยตาม เกิดเป็นคำถามที่ว่า เราจะศรัทธาในศาสนาหรือหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้อย่างไรในภาวะเช่นนี้?
            หากลองมองกลับไปยังแก่นแท้ของศาสนาพุทธศาสนาจริงๆ สิ่งที่เรียกว่า พุทธวจนยังคงปรากฏและมั่นคงตลอดเวลากว่าสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว
            เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา อุทยานการเรียนรู้ TK park ร่วมกับ พุทธวจนสมาคม จัดกิจกรรมและนิทรรศการเทศกาลลานธรรม: ๑๕ ค่ำเดือน ๘ เพื่อเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ให้หันมาสนใจเรียนรู้หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผ่านกิจกรรมทางธรรมต่างๆ ทั้งนิทรรศการ กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และเทคโนโลยีอันทันสมัย ซึ่งใจความสำคัญของกิจกรรมครั้งนี้ คือการเผยแผ่พุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า อ่านต่อ



การบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน

ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรม คือ รู้นิวรณ์ 5 รู้ขันธ์ 5 รู้อายตนะ รู้โพชฌงค์ 7 และรู้อริยสัจ เป็นต้น 

การบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน

จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต คือ จิตของตนในขณะนั้น ๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้น เป็นต้น ก็รู้ชัดตามที่จิตเป็นอยู่ในขณะนั้น

การบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน

เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) คือ
   1. สุขเวทนา ความรู้สึกสบายเป็นสุข
   2. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย เป็นทุกข์
   3. อุเบกขาเวทนา ความรู้สึกเฉย ๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์)
   4. สุขเวทนาที่มีอามิส (กามคุณ) ระคนไปด้วยกิเลส
   5. สุขเวทนาที่ไม่มีอามิส สุขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา
   6. ทุกขเวทนาที่มีอามิส ระดนไปด้วยกิเลส
   7. ทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส ได้แก่ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา
   8. อุเบกขาเวทนาที่มีอามิส ระคนไปด้วยกิเลส
   9. อุเบกขาเวทนาที่ไม่มีอามิส ได้แก่ อุเบกขาเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา

        การมีสติกำหนดเวทนาเป็นอารมณ์ คือ การที่บุคคลเสวยเวทนาต่าง ๆ ในขณะที่ได้ประสบกับอารมณ์ต่าง ๆ ก็รู้ตัวว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ จึงเกิดความสำคัญผิดในรูปนามว่า เป็น สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่สามารถหลุดพ้นการยึดมั่นเหล่านี้ได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้บุคคลเพียรพยายามกำหนดเวทนาต่าง ๆ ในขณะที่กำลังเสวยเวทนานั้น ๆ (ตกอยู่ในความรู้สึกในอารมณ์นั้น ๆ ) คือเมื่อกำลังมีความสุข ให้รู้ชัดว่ากำลังเสวยความสุขเวทนา เมื่อกำลังมีความทุกข์ ก็ให้รู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนา เป็นต้น

การบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนา หมายถึง การพิจารณากาย การมีสติติดตามดูกายเนือง ๆ กายเป็นสิ่งปราศจากจิต หมายความว่า กายนั้นไม่มีการรู้อารมณ์และไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ใด ๆ ได้ การรู้อารมณ์ต่าง ๆ เป็นหน้าที่จิต (ความรู้สึก นึกคิด) และเจตสิก (อาการของจิต) จิตและเจตสิกรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการมีสติติดตามดูกายเนือง ๆ ก็คือ การรู้เห็นกาย ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ 3 ประการคือ
   1.1 เห็นกายในกาย ภายใน ได้แก่ การรู้เห็นกายของตน
   1.2 เห็นกายในกาย ภายนอก ได้แก่ การรู้เห็นกายของบุคคลอื่น

   1.3 เห็นกายในกาย ทั้งภายในและภายนอกเนือง ๆ ได้แก่ การรู้เห็นทั้งของตนและของผู้อื่น

ศาสนาซิกข์

๑.กำเนิดศาสนา (เกิดเมื่อไหร่ ที่ไหน จากเหตุปัจจัยอะไร)
          สาธารณรัฐอินเดียในอดีตเป็นแหล่งกำเนิดของหลายศาสนา ชาวอินเดียเรียกดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ว่า ภารตวรรษและมีศาสนาฮินดูหรือสนาตนธรรมเป็นศาสนาดั้งเดิม สำหรับผู้ศึกษาและนับถือพระพุทธศาสนาจะรู้จักชื่อของสาธารณรัฐอินเดียว่า ชมพูทวีปเพราะเป็นถิ่นกำเนิดของพระพุทธศาสนาซึ่งมีศาสนาเชนเกิดร่วมสมัยด้วย นอกจากนี้ประมาณปีพ.ศ.๒๐๑๒ อินเดียได้มีศาสนาใหม่เพิ่มขึ้นมาและเป็นที่รู้จักกันดีในนามของศาสนาซิกข์ มีพระศาสดาพระองค์แรกพระนามว่า คุรุนานัก


           ปฐมศาสดาของศาสนาซิกข์มีพระประวัติที่น่าสนใจเพราะพระองค์นับถือศาสนาฮินดูมาก่อนและทรงปฏิเสธการนับถือพระเจ้าหลายพระองค์มาเป็นเพียงพระองค์เดียว พระนามว่า วาเฮ่คุรุ อย่างเคร่งครัด พระเจ้าพระองค์เดียวนี้ทรงเป็นผู้สมบูรณ์และแผ่ไปทั่วสรรพสิ่ง ทรงเป็นอมตภาวะ เป็นผู้สร้างมูลเหตุขอ อ่านต่อ


ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism)

ศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism)
เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่มีวิวัฒนาการมาพร้อมกับการมาของชาวอารยันราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในชั้นต้นพวกอารยันนับถือภูติผีปีศาจ อำนาจต่างๆ ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้ ต่อมาการนับถือธรรมชาติต่าง ๆ จึงพัฒนามาสู่การทำรูปเคารพ และเทพีต่าง ๆ มากมาย เช่นพระอินทร์ พระวิรุฬ พระอัคนี เป็นต้น


ลัทธิความเชื่อเหล่านี้เองที่ได้พัฒนาการมาเป็นศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งเหมือนหลาย ๆ ศาสนา ปัจจุบันเรียกว่าศาสนาฮินดู (Hinduism) มีผู้นับถือทั่วโลกเกือบ 800 ล้านค อ่านต่อ