เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา (ความรู้สึก) คือ
1. สุขเวทนา ความรู้สึกสบายเป็นสุข
2. ทุกขเวทนา
ความรู้สึกไม่สบาย เป็นทุกข์
3. อุเบกขาเวทนา
ความรู้สึกเฉย ๆ (ไม่สุขไม่ทุกข์)
4. สุขเวทนาที่มีอามิส
(กามคุณ) ระคนไปด้วยกิเลส
5. สุขเวทนาที่ไม่มีอามิส
สุขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา
6. ทุกขเวทนาที่มีอามิส
ระดนไปด้วยกิเลส
7. ทุกขเวทนาที่ไม่มีอามิส
ได้แก่ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา
8. อุเบกขาเวทนาที่มีอามิส
ระคนไปด้วยกิเลส
9.
อุเบกขาเวทนาที่ไม่มีอามิส ได้แก่
อุเบกขาเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเจริญสมถะและวิปัสสนา
การมีสติกำหนดเวทนาเป็นอารมณ์
คือ การที่บุคคลเสวยเวทนาต่าง ๆ ในขณะที่ได้ประสบกับอารมณ์ต่าง ๆ ก็รู้ตัวว่า
เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ จึงเกิดความสำคัญผิดในรูปนามว่า เป็น
สัตว์ บุคคล ตัวตน ไม่สามารถหลุดพ้นการยึดมั่นเหล่านี้ได้ ดังนั้น
พระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้บุคคลเพียรพยายามกำหนดเวทนาต่าง ๆ
ในขณะที่กำลังเสวยเวทนานั้น ๆ (ตกอยู่ในความรู้สึกในอารมณ์นั้น ๆ )
คือเมื่อกำลังมีความสุข ให้รู้ชัดว่ากำลังเสวยความสุขเวทนา เมื่อกำลังมีความทุกข์
ก็ให้รู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น